ชิปปิ้งกับ 11 ข้อของ Incoterms 2020 ที่คุณควรรู้

ชิปปิ้งกับ 11 ข้อของ Incoterms Max Logistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้งกับ 11 ข้อของ Incoterms 2020 ที่คุณควรรู้                                11                    Incoterms maxlogistics 768x402

ชิปปิ้ง หรือการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยทั่วไปแล้ว ย่อมมีความเกี่ยวพันกับเรื่องของการติดต่อสื่อสาร การซื้อขาย การส่งมอบสินค้า การขนส่ง ฯลฯ

ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้การซื้อขายระหว่างประเทศ เป็นไปอย่างเรียบร้อยตามกติกา ICC หรือสภาหอการค้านานาชาติ จึงได้ออกกฎระเบียบเพื่อใช้เป็นข้อบังคับระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย หรือที่เรียกว่า Incoterms ขึ้นมา

Incoterms ย่อมาจาก International Commercial Terms หมายถึง ข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานสากล มีไว้ใช้สำหรับทำการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งตามปกติแล้วทุกๆ 10 ปี จะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลงไปตามเทรนด์การค้า

สำหรับฉบับล่าสุดคือ Incoterms 2020 เป็นฉบับที่มีการแก้ไขปรับปรุงใหม่จากปี 2010 และเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2020 เป็นต้นมา ซึ่งใจความสำคัญของ  Incoterms 2020 อยู่ที่กฎระเบียบ 11 ข้อ ที่สามารถนำมาอ้างอิงและใช้ได้ ทั้งกับการค้าภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้  ICC ได้ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ขายและผู้ซื้อในเรื่องต่างๆ เอาไว้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการส่งมอบ การรับมอบสินค้า ความเสี่ยงภัยของสินค้า การขนส่ง การประกันภัย เอกสารที่เกี่ยวกับการจัดส่งและการบรรทุก การทำพิธีการส่งออกและนำเข้า การตรวจสอบสินค้า ฯลฯ เป็นต้น

Max Logistics ขอรวบรวมใจความสำคัญของ Incoterms 2020 ทั้ง 11 กฎ ดังต่อไปนี้

  1. EXW (Ex-Works) คือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า โดยผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้า ณ สถานที่ของผู้ขาย และผู้ซื้อจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากสถานที่ของผู้ขายไปยังประเทศของผู้ซื้อ
  2. FCA (Free Carrier) คือผู้ขายรับผิดชอบการดำเนินการและค่าใช้จ่ายในการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ที่ทำการขนส่ง (Carrier) ซึ่งจัดเตรียมโดยผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้ขนส่ง หลังจากนั้น การขนส่งสินค้าไปยังปลายทางและความเสี่ยงต่างๆ จะตกเป็นของผู้ซื้อ
  3. CPT (Carriage Paid to) เงื่อนไขนี้ ผู้ขายจะทำการส่งมอบสินค้า ให้กับผู้ขนส่ง (Carrier) ที่กำหนดโดยผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้ขนส่งสินค้าต้นทาง ผู้ขายรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า (Freight) ขณะที่ค่าความเสี่ยงเป็นของผู้ซื้อเมื่อสินค้าถูกส่งให้กับผู้ขนส่งที่ต้นทาง
  4. CIP (Carriage and Insurance Paid to) ผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ขนส่ง (Carrier) ที่กำหนดโดยผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้ขนส่งต้นทาง และค่าใช้จ่ายในการทำพิธีการส่งออก ค่าระวางขนส่งสินค้า (Freight) และค่าประกันภัยสินค้า (Insurance) ให้ด้วย แต่ความเสี่ยงเป็นของผู้ซื้อตั้งแต่ส่งมอบสินค้าให้ผู้ขนส่ง
  5. DAP (Delivered at Place) เงื่อนไขนี้ ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ยกเว้น ภาษี และพิธีการนำเข้า และรับความเสี่ยงทั้งหมดในการขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ปลายทางที่ตกลงกันไว้
  6. DAT (Delivered At Terminal) เงื่อนไขนี้ ผู้ขายทำการส่งมอบสินค้า โดยรับผิดชอบทั้งค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงทั้งหมดไปจนถึงการขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะไปยังอาคารขนถ่ายสินค้า ในท่าเรือหรือปลายทางที่ระบุไว้
  7. DDP (Delivered Duty Paid) คือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าที่ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบ ณ สถานที่ของผู้ซื้อ ซึ่งผู้ขายต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากสถานที่ของผู้ขายไปยังสถานที่ของผู้ซื้อ
  8. FAS (Free Alongside Ship) ผู้ขายจัดการรับผิดชอบการขนส่งและค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าไปยังกาบเรือ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ ส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตั้งแต่การนำของขึ้นเรือ การทำพิธีการส่งออก การขนส่งสินค้า รวมถึงความเสี่ยงต่างๆ จะตกเป็นของผู้ซื้อทันทีที่สินค้าถูกส่งมอบไปยังกาบเรือ
  9. FOB (Free on Board) คือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าที่ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบเมื่อสินค้าวางบนเรือที่ท่าเรือต้นทาง (on board the vessel) และผู้ขายต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายพิธีการส่งออกด้วย ส่วนผู้ซื้อจะเป็นผู้รับภาระในการทำสัญญาการขนส่งและจ่ายค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากท่าเรือต้นทางไปยังท่าเรือปลายทาง (ค่าระวางเรือ) รวมถึงรับความเสี่ยงต่อความเสียหายของสินค้าจากจุดส่งมอบ (ท่าเรือต้นทาง) ซึ่งผู้ซื้อควรทำประกันภัยในการขนส่ง
  10. CFR (Cost and Freight) ผู้ขายรับภาระส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือไปบนเรือสินค้า และรับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออก รวมถึงจ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า (Freight) ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าประกันภัยขนส่งสินค้า และความเสี่ยงหลังจากสินค้าผ่านกาบระวางเรือขึ้นไปบนเรือ ตกเป็นของผู้ซื้อ
  11. CIF (Cost Insurance and Freight) คือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า ที่ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบเมื่อสินค้าวางบนเรือที่ท่าเรือต้นทาง (On Board the Vessel) และผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายพิธีการส่งออก รวมทั้งทำสัญญาการขนส่ง จ่ายค่าขนส่งสินค้าจากท่าเรือต้นทางไปยังท่าเรือปลายทาง (ค่าระวางเรือ) และค่าประกันภัยขนส่งสินค้า หรือ FOB + ค่าระวางเรือ + ค่าประกันภัยขนส่งสินค้า เพื่อคุ้มครองสินค้าระหว่างเดินทางจนกว่าสินค้าจะถึงมือผู้ซื้อ

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าทั้ง 11 กฎนี้ จะมีสิ่งสำคัญ 3 อย่างที่กำหนดไว้คือ ภาระหน้าที่ของผู้ขายและผู้ซื้อ กฎแต่ละข้อจะบอกไว้อย่างชัดเจนว่าผู้ส่งออกต้องทำอะไรบ้าง และผู้นำเข้าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อทำให้การซื้อขายนี้สำเร็จลุล่วง การรับผิดชอบความเสี่ยง เช่น เมื่อสินค้าไปอยู่ในขั้นตอนไหน ใครต้องเป็นคนรับผิดชอบกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับสินค้า และค่าใช้จ่าย ใครต้องเป็นผู้จ่ายค่าอะไรบ้าง ทั้งนี้ เพื่อให้การซื้อขายระหว่างกันเป็นไปอย่างมีแบบแผนและราบรื่น ภายใต้กฎกติกาเดียวกัน

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *