ชิปปิ้ง เจาะลึก 3 ประเด็นการค้าข้ามพรมแดน ที่ต้องจับตา

ชิปปิ้ง เจาะลึก 3 ประเด็นการค้าข้ามพรมแดน ที่ต้องจับตา - maxlogistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง เจาะลึก 3 ประเด็นการค้าข้ามพรมแดน ที่ต้องจับตา                       768x402

ชิปปิ้ง เทคโนโลยีที่ทันสมัย ก่อให้เกิดแนวทางใหม่ๆ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าขาย และต้องทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ

Max Logistics รวบรวม 3 เรื่องที่น่าจับตาเกี่ยวกับการเงิน และการค้าข้ามพรมแดน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ 

» ความต้องการด้านการค้าระหว่างประเทศจะสูงขึ้นและยังคงดำเนินต่อไป
Asian Development Bank : ADB (สถาบันการเงินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาของประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก) คาดการณ์ว่า ความต้องการทางการเงินเพื่อการค้าจะอยู่ที่1.5 ล้านล้านดอลลาร์ / ปี และคาดว่าตัวเลขนี้จะยังเท่าเดิมหรือเติบโตขึ้นเล็กน้อย เนื่องมาจาก สถาบันการเงินแบบดั้งเดิมต้องการลดความเสี่ยงทางการเงิน จึงลดการจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนการค้าข้ามพรมแดน ยกเว้นลูกค้าข้ามชาติรายใหญ่ๆ นอกจากนี้ ยังมีกฎระเบียบด้านเงินทุน และข้อบังคับที่เข้มงวดมากขึ้น รวมทั้งระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพื่อการค้าทั้งการนำเข้า / ส่งออก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา

» ภาวะหยุดชะงักของการเข้าสู่ระบบดิจิตอล
อุตสาหกรรมต่างๆ เริ่มเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นเอกสารออนไลน์ รวมทั้งกองทุน ธุรกรรมทางการเงิน และการค้าที่จะกลายเป็นรูปแบบดิจิทัลอย่างเต็มตัว งานนี้จีนดูจะรุดหน้ากว่าใคร ด้วยความพยายามที่จะเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลกดิจิทัลกับการเปิดตัวระบบเครือข่าย Blockchain-based Services Network (BSN) ไปเมื่อเร็วๆ นี้ นอกจากนี้ เรายังจะได้เห็นเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวกับ RegTech หรือการจัดการกระบวนการกำกับดูแลภายในอุตสาหกรรมการเงินผ่านเทคโนโลยี ซึ่งจะช่วยให้การค้าระหว่างประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

» การค้าโลกยังคงซับซ้อนและโกลาหล
ถึงแม้ว่าสงครามภาษีระหว่างสองประเทศมหาอำนาจอย่างจีน-สหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้นเมื่อกลางปี 2018 จะเพลาลง เนื่องมาจากข้อตกลงทางการค้าเฟสแรกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ทั้งสองประเทศหันมาจับมือและประนีประนอมต่อกันทางด้านการนำเข้าและส่งออก อย่างไรก็ตาม หากมองในภาพรวมของเศรษฐกิจโลกแล้ว โดยทั่วไปยังคงอ่อนแอและโกลาหล อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่เราจะได้เห็นข้อพิพาททางการค้าเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

โดยผลกระทบจากสงครามการค้า อาจทำให้บริษัทต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนระบบซัพพลายเชนในประเทศใหม่ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลายาวนาน และมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องสร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ ด้านซัพพลายเออร์เองก็มีความลังเลที่จะให้สินเชื่อแก่ผู้ซื้อรายใหม่ ตลอดจนธนาคารส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะสนับสนุนตลาดเกิดใหม่ เป็นต้น

อ้างอิงข้อมูล : https://stenn.com/cross-border-trade-finance-in-2020-five-major-trends

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *