ชิปปิ้ง New Normal และผลกระทบต่อการจัดการด้าน Supply Chain

ชิปปิ้ง New Normal และผลกระทบต่อการจัดการด้าน Supply Chain - maxlogistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง New Normal และผลกระทบต่อการจัดการด้าน Supply Chain new2 768x402

ชิปปิ้ง  ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ Covid-19 และทำให้เกิดแรงกดดันอย่างมากต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เกือบ 95% ของบริษัท มีการหยุดชะงักเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน โรงงานผลิต และการขนส่ง โดยมีระยะเวลารอคอยสำหรับปัจจัยการผลิตทั่วเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ เติบโตอย่างน้อย 2 เท่า

ในช่วงเวลานี้ เจ้าของธุรกิจชิปปิ้ง โลจิสติกส์ หรือธุรกิจประเภทอื่นๆ ต่างหยิบยกเอาคำว่า ‘New Normal’ (ความปกติรูปแบบใหม่) ขึ้นมาพูดอยู่บ่อยครั้ง เพื่อทำนายถึงอนาคตที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ ซึ่งในแง่ของ Supply Chain หรือห่วงโซ่อุปทานนั้น ความปกติรูปแบบใหม่ สามารถตีความหมายได้ว่า ‘แรงขับเคลื่อนที่เกิดจากความกลัว’ (Fear Driven) ซึ่งจะแสดงออกเป็น 2 ปฏิกิริยา ได้แก่ 

»The Ostrich Effect ภาวะปิดหูปิดตาจากข่าวร้าย
ปฏิกิริยาแรกเรียกว่า The Ostrich Effect หรือภาวะปิดหูปิดตาจากข่าวร้าย หมายความว่า เจ้าของธุรกิจพยายามลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยไม่ได้มองหาวิธีแก้ปัญหาจากต้นเหตุ แต่กลับไปลดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแทน ผลที่เกิดขึ้นคือ การประกาศแจ้งพนักงานว่า บริษัทกำลังประสบปัญหาหนัก และอยู่ในช่วงพลิกฟื้น ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร โปรเจคใหม่ๆ ถูกเลื่อนออกไปไตรมาสแล้วไตรมาสเล่า จนกระทั่งต้องยกเลิกโปรเจคนั้นไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม บริษัทหลายแห่งอาจได้ประสบการณ์มากขึ้นด้านการจัดการกับค่าใช้จ่าย แม้ว่ารายได้จะลดลง คงที่ หรือขาดทุนก็ตาม

ปฏิกิริยาตรงกันข้าม
ปฏิกิริยาที่สองกลับตรงกันข้ามจากข้อแรก เมื่อเจ้าของธุรกิจรับรู้ได้ว่ายอดขายไม่กระเตื้อง มีสินค้าคงคลังค้างสต็อก พวกเขาจะคิดหาหนทางที่จะทำอย่างไรให้สินค้าขายออก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้จะไม่รู้ว่าความโกลาหลของตลาดจะจบลงเมื่อไหร่ รู้แต่เพียงว่าค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นทุกๆ เดือน ทำให้ต้องทำอะไรสักอย่าง เช่น ลดจำนวนแรงงานหรือหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจโดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย บริษัทเหล่านี้มักจะตระหนักว่าความไร้ประสิทธิภาพและความไม่มั่นคงนั้นจะทำลายธุรกิจให้ย่อยยับ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจถดถอย

»ความหลากหลายในการกระจายสินค้า
ตัวอย่างที่ดีของความสามารถด้านนี้ สามารถยกตัวอย่างได้จากคลังสินค้าของ Intek Warehouse Librarian ซึ่งดำเนินธุรกิจแตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจร้านค้า (Brick & Mortar) ประมาณ 60 แห่ง ธุรกิจแค็ตตาล็อกสั่งซื้อทางไปรษณีย์ และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่ทำรายได้สูง เห็นได้ชัดว่าคำสั่งซื้อที่มาจากแต่ละธุรกิจ ทำให้จำเป็นต้องใช้ระบบการจัดการคลังสินค้าที่มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถรองรับคำสั่งซื้อที่แตกต่างกันได้จากหลาย 100 รายการ

Intek Warehouse Librarian ใช้ระบบการจัดการสินค้าคงคลังที่แข็งแกร่งมากเพื่อตอบสนองต่อคำสั่งซื้อที่แตกต่างกัน ดังนั้น แม้ว่ายอดค้าปลีกจะคงที่ ก็ไม่เป็นปัญหา ทั้งนี้ บริษัทได้นำเอาระบบโปรแกรมที่ช่วยบริหารระบบคลังสินค้าหรือที่เรียกว่า ‘WMS’ (Warehouse Management System) เข้ามาใช้ดำเนินงาน โดย WMS จะมีกระบวนการทำงาน 3 รูปแบบ คือ รับสินค้า จัดเก็บ และเบิกสินค้า ช่วยค้นหาสินค้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ทำให้คำสั่งซื้อจากลูกค้าผิดพลาดน้อยมาก แถมประหยัดต้นทุนการจ้างแรงงานคน

อีกตัวอย่างหนึ่งของการลดต้นทุนแรงงานคือการใช้เทคโนโลยีการรับสินค้าด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การจดจำเสียง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ให้บริการด้าน Supply Chain แต่เทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับการลงทุน ซึ่งเมื่อคำนึงถึงประสิทธิภาพของมันแล้วก็อาจเรียกว่าคุ้มค่าพอตัว เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยประหยัดแรงงาน เวลาเท่านั้น ยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของศูนย์กระจายสินค้าได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย

»New Normal ความปกติรูปแบบใหม่ในวันนี้
แม้ว่าการตัดสินใจส่วนใหญ่ของเจ้าของกิจการ จะเป็นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งมักมีความผันผวนและไม่แน่นอน สูง ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจชิปปิ้ง โลจิสติกส์ หรือธุรกิจประเภทอื่นๆ จึงควรพิจารณา New Normal เป็นกรณีๆ ไป ที่สำคัญ ต้องเตรียมรับมือต่อสถานการณ์ต่างๆ อย่างยืดหยุ่นและผ่อนคลายอยู่เสมอ

อ้างอิงข้อมูล : http://www.ittoday.info/Articles/New_Normal.htm

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *