Shippingจีน โลจิสติกส์เป็นระบบการขนส่ง ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ประกอบด้วยการขนส่ง 3 รูปแบบ คือ ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
ปัจจุบัน โลจิสติกส์ เป็นธุรกิจไร้พรมแดน ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม และการประกอบธุรกิจทุกประเภท ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดย่อมมีความเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และการขนส่งทั้งสิ้น
Max Logistics รวบรวมเอา 9 คำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับวงการโลจิสติกส์ที่ควรรู้มาฝากกัน
1. Supply Chain ห่วงโซ่อุปทาน
หมายถึง กระบวนการต่างๆ ที่ทำให้เกิดสินค้าขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บสินค้า (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดจำหน่าย (Distribution) และการขนส่ง (Transportation) ตั้งแต่ก่อนและหลังการผลิตสินค้าจนไปถึงมือผู้บริโภค
2. Supply Chain Management การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
คือการรวบรวม การวางแผนและการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา จัดซื้อ และจัดส่งสินค้า(Shipping)แก่ลูกค้า รวมไปถึงการแปรสภาพและการจัดการกระบวนการโดยรวมของการไหลของวัตถุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ
3. Reverse Logistics การรับสินค้าคืนหรือส่งสินคากลับ
กระบวนการจัดการสินค้าย้อนกลับจากผู้บริโภคมายังผู้ผลิต ไม่ว่าจะเป็นการเรียกกลับคืนสินค้า สินค้าเกิดการเสียหาย สินค้าไม่ได้มาตรฐาน หรือสินค้าหมดอายุการใช้งาน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าใช้ประโยชน์ในมูลค่าสินค้าที่ยังมีอยู่ หรือทำลายทิ้งอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ บริษัทจะต้องดำเนินการด้วยความเต็มใจที่จะรับคืนสินค้าด้วยความรวดเร็วที่มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ
4. Multimodal Transport การขนส่งหลายรูปแบบ
การขนส่งสินค้าหลายวิธีร่วมกัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่ง(Shipping)ร่วมกันระหว่างการเรือ รถบบรรทุก และรถไฟ นิยมใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ที่เป็นการขนส่งสินค้าในระยะทางไกล หรือเป็นสินค้าที่ต้องใช้การขนส่งเส้นทางอ้อม
5. Cross-Dock Warehouse ท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า
คลังสินค้าที่ใช้สำหรับการรับและส่งสินค้าในเวลาเดียวกัน เพื่อใช้ในการขนถ่ายสินค้าจากพาหนะหนึ่งไปสู่อีกพาหนะหนึ่ง
6. Freight Forwarder ผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ
ตัวแทน/ตัวกลางระหว่างผู้ส่งออก – ผู้นำเข้า – สายเรือ/สายการบิน ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (ไม่มีเรือหรือเครื่องบินเป็นของตัวเอง) เมื่อจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ยังรับดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า โดยจัดทำใบขนสินค้า ยื่นใบขนสินค้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากรเพื่อให้มีการตรวจปล่อยสินค้า และส่งมอบสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศให้แก่ผู้นำเข้าหรือส่งสินค้าออก
7. Retail ผู้จําหน่ายรายย่อยหรือผู้ค้าปลีก
การค้าขายสินค้าหรือบริการแก่ผู้บริโภคผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อแสวงหากำไรและความต้องการของสินค้า การค้าปลีกเกิดขึ้นในโลกออนไลน์เป็นจำนวนมาก โดยมีการจ่ายค่าสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงบริการเก็บเงินปลายทาง และจัดส่งผ่านทางบริษัทขนส่ง
8. Distribution Center ศูนย์กระจายสินค้า
หมายถึง คลังสินค้าของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ที่ถูกออกแบบให้มีลักษณะเฉพาะอย่าง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการหมุนเวียนสินค้าเข้า-ออก ทำหน้าที่รับคำสั่งซื้อ จัดหาสินค้า และจัดส่งสินค้าไปให้ถึงมือผู้บริโภค
9. Inventory Management การบริหารสินค้าคงคลัง
คือการจัดการต่างๆ เกี่ยวกับรายการสินค้าในคลัง ตั้งแต่การรวบรวม จดบันทึกสินค้าเข้า-ออก ควบคุมปริมาณสินค้า รวมถึงการดูแลรักษา จัดเก็บทรัพยากรเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น