ชิปปิ้งกับ 5 ความผิดที่ผู้นำเข้าต้องระวัง มีโทษทั้งจำและปรับ

ชิปปิ้ง 5 ความผิดที่พบบ่อยของผู้นำเข้า Max Logistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้งกับ 5 ความผิดที่ผู้นำเข้าต้องระวัง มีโทษทั้งจำและปรับ                       5                                                                                      maxlogistics 768x402

ชิปปิ้ง กับการดำเนินพิธีการนำเข้าสินค้าจากจีนนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้นำเข้ามีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากรหรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด 

โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าจากจีนหรือชิปปิ้งด้วยตนเอง ซึ่งอาจมีความเสี่ยงสำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการนำเข้า หากเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายศุลกากรดังต่อไปนี้ ผู้นำเข้าจะได้รับโทษสถานเบา-หนักตามข้อกฎหมายและลักษณะความผิดที่คุณอาจจะไม่ได้ตั้งใจ  

Max Logistics นำเสนอข้อมูลความผิดทางศุลกากรที่พบได้บ่อยๆ สำหรับผู้นำเข้าสินค้าจากจีน และเป็นสิ่งที่ต้องระวัง 

  1. ลักลอบหนีศุลกากร คือการนำของที่ยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือของที่ควบคุมการนำเข้าหรือของที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในไทย โดยของที่ลักลอบหนีศุลกากรอาจเป็นของที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ต้องเสียก็ได้ หรืออาจเป็นของต้องห้ามหรือของต้องกำกัดหรือไม่ก็ได้ หากไม่นำมาผ่านพิธีการศุลกากร ถือว่ามีความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร มีโทษสูงสุดคือให้ริบของที่ลักลอบหนีศุลกากรและปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคารวมภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับต่อการกระทำความผิด 1 ครั้ง

  1. เลี่ยงเสียภาษีอากร คือการนำของที่ต้องชำระภาษีอากรเข้ามาในไทย โดยผ่านพิธีการศุลกากรอย่างถูกต้อง แต่ใช้วิธีเพื่อมิให้ต้องชำระค่าภาษีอากรหรือชำระในจำนวนที่น้อยกว่าที่ต้องชำระ เช่น สำแดงปริมาณ น้ำหนัก ราคา ชนิดสินค้า หรือพิกัดอัตราศุลการเป็นเท็จ โทษที่จะได้รับคือ ให้ริบของที่เลี่ยงภาษีและปรับเป็นเงิน 4 เท่าของของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
  1. สำแดงเท็จ คือการสำแดงใดๆ ในการนำเข้าสินค้าที่เป็นเท็จหรือไม่ตรงกับหลักฐานและเอกสาร เช่น

การยื่นใบขนสินค้าเป็นเท็จ 

– การตอบคำถามเท็จต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร  

– ละเลย ไม่ทำ ไม่รักษาบันทึกเรื่องราวหรือทะเบียน สมุดบัญชี เอกสาร หรือตราสารอื่นๆ ซึ่งกฎหมายศุลกากรกำหนดไว้

– ปลอมแปลงหรือใช้เอกสารบันทึกเรื่องราวหรือตราสารอื่นๆ ที่ปลอมแปลงแล้ว

– แก้ไขเอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอื่นๆ ภายหลังที่ทางราชการออกให้แล้ว

– ปลอมดวงตรา ลายมือชื่อ ลายมือชื่อย่อหรือเครื่องหมายอื่นๆ ของพนักงานศุลกากร

การกระทำตามลักษณะดังกล่าวข้างต้น ให้ถือเป็นความผิด โทษสูงสุดคือปรับเป็นเงินไม่เกิน 50,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน

  1. ความผิดฐานนำของต้องห้ามหรือต้องกำกัดเข้ามา กฎหมายศุลกากรได้กำหนดของต้องห้ามและของต้องกำกัดเอาไว้อย่างเคร่งครัว สำหรับของต้องกำกัดนั้น จะนำเข้าได้ก็ต่อเมื่อมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นๆ แนบมาด้วย สำหรับโทษของผู้กระทำผิดในการลักลอบนำของต้องห้ามต้องกำกัดเข้ามาในไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่มีใบอนุญาตอย่างถูกต้อง โทษสูงสุดคือ ริบของที่หลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัด และปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำและปรับ
  1. ฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร ในการนำเข้าสินค้าแต่ละครั้ง ผู้นำเข้าจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎให้ครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารและการควบคุมการจัดเก็บภาษีอากร และการนำเข้าเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม การกระทำผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากรนั้น มีหลายลักษณะ สำหรับความผิดฐานฝ่าฝืนกฎระเบียบที่กำหนดไว้ จะถูกปรับเป็นเงิน 1,000 บาท
ข้อมูล : กรมศุลกากร 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *