ชิปปิ้งจีน 15 สถิติน่ารู้ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (Logistics)

ชิปปิ้งจีน 15 สถิติน่ารู้ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ maxlogistics ชิปปิ้งจีน ชิปปิ้งจีน 15 สถิติน่ารู้ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (Logistics)                                15                                                                                                     maxlogistics 768x402

ชิปปิ้งจีน หรือธุรกิจด้านการขนส่ง ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่าอะไรคือความแตกต่างระหว่างคำว่า ‘ชิปปิ้ง’ กับ ‘โลจิสติกส์’ 

จริงๆ แล้ว ทั้งสองคำนี้ มักจะถูกควบรวมให้อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันอยู่เสมอ โดยชิปปิ้งจีนหรือชิปปิ้งก็คือการขนส่ง หมายถึงการเคลื่อนย้ายสินค้าจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ในขณะเดียวกัน คำว่า ‘โลจิสติกส์’ คือการขนส่งข้ามพรมแดนหรือการจัดการด้านขนส่งที่ครอบคลุมและกว้างขวางกว่า โลจิสติกส์จึงมิใช่แค่ว่าด้วยการขนส่งสินค้าเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการบรรจุผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บสินค้า การจัดส่ง และการจัดการกับสินค้า ฯลฯ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในยุคที่ทุกคนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีได้พัฒนาก้าวไกล ทำให้ความคาดหวังของลูกค้าเพิ่มสูงขึ้น อุตสาหกรรมชิปปิ้งจีนและโลจิสติกส์ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้

แม้เราไม่อาจรู้ได้แน่ชัดว่าอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต แต่สถิติที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณคาดเดาได้ถูกทางจากแนวโน้มของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปได้ Max Logistics ชิปปิ้งจีนที่นำเข้าสินค้าอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาไว้ที่นี่แล้ว 

  1. มีความเสียหายทางด้านแพ็คเกจจิ้งในระหว่างการขนส่ง จนทำให้ต้องส่งสินค้ากลับคืนถึง 20% (Sealed Air, 2017)
  2. ผลกำไรโดยเฉลี่ยจากการใช้ออนไลน์ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์อยู่ระหว่าง 25-50% (Total Logistics, 2019)
  3. โดยเฉลี่ยแล้ว ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่เสียหายมีจำนวนสูงถึง 17 เท่าของต้นทุนเดิมที่จะทำการจัดส่ง (Sealed Air, 2017)
  4. ผู้บริโภคชาวอเมริกันมีการส่งคืนสินค้ากลับเป็นมูลค่า 23 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในระหว่างเทศกาลวันหยุดปี 2017 (Sealed Air, 2017)
  5. ตลาดพัสดุทั่วโลกมีมูลค่า 89 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เกือบเท่ากับ 6% ของการใช้จ่ายโลจิสติกส์ทั่วโลก (Total Logistics, 2019)
  6. การใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ในยุโรปมีสัดส่วนมากกว่า 15% ของค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ทั้งหมดทั่วโลก (Total Logistics, 2019)
  7. การใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ของชาวอเมริกันเหนือ มีสัดส่วนมากกว่า 1% ของการใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ทั้งหมดทั่วโลก (Total Logistics, 2019)
  8. ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของธุรกิจโลจิสติกส์ที่เติบโตขึ้นในปี 2017 นั้น ประกอบด้วย การแข่งขันกันสูงขึ้น 9% ค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน 7.7% ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 6.7% (JDA : Global Logistics Report, 2017)
  9. ผู้บริโภคยุคนี้ต่างมองหา LSP (Logistics Services Provider) หรือผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น เช่น มองหาผู้ที่ให้บริการขนส่งและมีโกดังสินค้าสูงขึ้น 8% ผู้ที่วางแผนด้านซัพพลายเชน 22.6% ผู้ให้บริการจัดการการสั่งซื้อ 18.9% เป็นต้น (JDA : Global Logistics Report, 2017) อย่างไรก็ตาม อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ขั้นตอนนำเข้าสินค้าทางบกสำหรับผู้ประกอบการ
  10. 80% ของระบบคลังสินค้าในวันนี้ถูกจัดการด้วยแรงงานคน (DHL, 2019)
  11. ในปี 2013 Walmart ขาดทุนมาถึง 3 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ เนื่องมาจาการจัดการสินค้าคงคลังที่ไม่ดี (DHL : Logistics of Things, 2019)
  12. บริษัทที่ทำธุรกิจด้าน E-Commerce เริ่มมีการลงทุนด้านโลจิสติกส์ไปด้วยพร้อมกัน เช่น กลุ่ม Hermes วางแผนที่จะลงทุนสูงถึง 580 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในการสร้างและขยายศูนย์โลจิสติกส์ โดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งจะมีทั้งร้านค้าและคลังสินค้าสำหรับจัดเก็บสินค้า (PWC, 2019)
  13. เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจเมื่อผู้ให้บริการขนส่งสินค้าและสายการบินรายใหญ่ที่สุด นำเสนอการจองออนไลน์แบบครบวงจรเพียง 6% เท่านั้น (McKinsey, 2018)
  14. หากธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์สามารถควบคุมการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลได้ มันจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการได้มากถึง 13% (Accenture, 2016) อัพเดทเทคโนโลยีที่นิยมนำมาใช้ในปี 2020 นี้ได้ ที่นี่
  15. 50% ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ใช้ระบบให้บริการที่มี Cloud เป็นพื้นฐาน ส่วนที่เหลืออีก 20% วางแผนที่จะทำในปีถัดไป (DHL, 2019)

ข้อมูล : https://financesonline.com/construction-industry-statistics/

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *