ชิปปิ้งจีนและเครือข่าย Supply Chain ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19

ชิปปิ้งจีนกับ Supply Chain สั่นสะเทือนจาก Covid19 Maxlogistics ชิปปิ้งจีน ชิปปิ้งจีนและเครือข่าย Supply Chain ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19                                         Supply Chain                                            Covid19 Maxlogistics 768x402

ชิปปิ้งจีน หนึ่งในธุรกิจขนส่งที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ จาก Coronavirus และโรค Covid-19 โดยเฉพาะการขนส่งทางเรือในเมืองอู่ฮั่น และเมืองท่าที่มีความสุ่มเสี่ยง 

แม้ว่าปัจจุบัน ชิปปิ้งจีน จะมีการเปิดให้บริการเดินเรือตามปกติแล้วก็ตาม กระแสโรคระบาดดังกล่าว ได้ขยายวงกว้างไปสู่เศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งเครือข่าย Supply Chain ทั้งหมด

Richard Wilding OBE, ศาสตราจารย์ด้านกลยุทธ์ Supply Chain แห่งมหาวิทยาลัย Cranfield สหราชอาณาจักร กล่าวไว้ว่า “ส่วนใหญ่แล้ว การชะงักงันของ Supply Chain ทั่วโลกนั้น สืบเนื่องมาจาก Covid-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมตั้งแต่รถยนต์ไปจนถึงอุตสาหกรรมของเล่น อีกทั้งมีแนวโน้มที่จะยาวนานต่อเนื่อง”

เครือข่าย Supply Chain สั่นสะเทือนไปทั่วโลก

จริงๆ แล้ว Supply Chain หรือห่วงโซ่อุปทาน ก็คือเครือข่ายทางธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ธุรกิจผลิตสินค้า ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจชิปปิ้งจีน โดยธุรกิจต่างๆ ล้วนมีความเชื่อมโยงและมีกระบวนการดำเนินงานที่เป็นสากล หากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ส่งผลให้ธุรกิจนั้นหยุดชะงักไป เช่น โรคระบาด ไวรัสโคโรนา แผ่นดินไหว น้ำท่วม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ฯลฯ ย่อมส่งผลกระทบต่อเครือข่ายอื่นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในบางอุตสาหกรรม เช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่มีกำลังการผลิตในหลายภูมิภาคทั่วโลก ผู้ประกอบการอาจจำเป็นต้องเลือกมองหาแหล่งผลิตอื่นๆ เพื่อชดเชยการขาดแคลนสินค้า อีกทั้งอาจจะต้องมองหาตัวเลือกในการขนส่งชั่วคราว เช่น การขนส่งทางอากาศ เพื่อรอจนกว่าสถานการณ์โรคระบาดจะคลี่คลาย

Supply Chain สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว และในอุตสาหกรรมบางประเภท สามารถสร้างห่วงโซ่อุปทานใหม่ได้เช่นกัน หากแต่การพัฒนาพันธมิตรใหม่หรือสร้างคอนเนคชั่นทางการค้าจำเป็นต้องใช้เวลา ทั้งนี้ การดำเนินการผลิตของจีนแผ่นดินใหญ่ ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงและมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างมาก เนื่องจากการลงทุนในประเทศและตะวันตกสูง ในขณะที่ภูมิภาคอื่นๆ อาจไม่มีกำลังการผลิตและความสามารถทัดเทียมได้

กุญแจสำคัญคือความคล่องตัวและการทำงานร่วมกัน

ความคล่องตัวและการทำงานร่วมกันคือสิ่งสำคัญของการจัดการความเสี่ยงใน Supply Chain เมื่อมีการระบาดของ Covid-19 เกิดขึ้น ผู้ประกอบการจะเริ่มมองหาผลกระทบที่มีต่อธุรกิจพวกเขา อย่างน้อยบริษัทต่างต้องการที่จะรู้ว่าซัพพลายเออร์ของเขานั้นอยู่ที่ไหน ไกลเพียงใด แม้จะเป็นเพียงที่อยู่สำหรับผู้จัดจำหน่ายของคุณก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อที่ว่าหากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ผู้ประกอบการจะได้มองหาทางแก้และลู่ทางอื่นได้ทันท่วงที

อย่างไรก็ตาม Harvard Business School ยังได้คาดการณ์ไว้ว่า สิ่งเลวร้ายที่สุดอาจยังมาไม่ถึง แต่ผลกระทบของ Covid-19 ในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกจะสูงสุดช่วงกลางเดือนมีนาคมนี้ ทำให้บริษัทหลายพันรายต้องปิดกิจการหรือปิดโรงงานประกอบและโรงงานผลิตลงชั่วคราว ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ซึ่งบริษัทที่เสี่ยงที่สุดคือบริษัทที่ต้องพึ่งพาชิ้นส่วนและวัสดุจากจีน เนื่องจากกิจกรรมของโรงงานผลิตในจีนได้ลดลงในเดือนที่ผ่านมาและคาดว่าจะยังคงอยู่ในภาวะหดหู่เช่นนี้ต่อไปอีกหลายเดือน

การวิเคราะห์ดังกล่าว อาจเทียบไม่ได้เลยกับการแพร่ระบาดของโรคซาร์สในปี 2545-2546 เนื่องจาก 18 ปีหลังจากโรคซาร์สที่ระบาด ประเทศจีนมีส่วนแบ่งทางการค้าเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยในปี 2545 ที่มีการแพร่ระบาดของโรคซาร์สนั้น ทำให้มีผู้ป่วย 8,000 รายในปี 2546 ในขณะนั้น GDP ของจีนคิดเป็น 4.31% ของ GDP โลก ขณะที่ปัจจุบัน Covid-19 ได้คร่าชีวิตผู้คนในจีน 2,912 ราย และติดเชื้อ 80,026 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มี.ค. 63) ซึ่ง GDP จีนคิดเป็น 16% ของ GDP โลก เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 4 เท่าตัวเลยทีเดียว

ผลประกอบการไตรมาสแรก เตรียมร่วงทั่วโลก

ผู้ผลิตบางรายจำเป็นต้องเร่งการผลิตในโรงงานนอกประเทศจีน เช่น Fiat Chrysler Automobiles NV ประกาศเมื่อวันที่ 14 ก.พ. ที่ผ่านมาว่า จะทำการหยุดการผลิตชั่วคราวที่โรงงานผลิตรถยนต์ในเซอร์เบียเนื่องจากไม่สามารถนำเข้าชิ้นส่วนจากจีนได้ ในทำนองเดียวกัน ฮุนได ประกาศว่าจะตัดสินใจระงับสายการผลิตจากการดำเนินงานที่โรงงานในเกาหลี เนื่องจากการหยุดชะงักในการจัดหาชิ้นส่วน อันเป็นผลมาจากการระบาดของโรค Covid-19 ในประเทศจีนด้วย ส่วน Apple ก็ประกาศถึงผลประกอบการของบริษัทรายไตรมาสนี้จะต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า นั่นหมายถึงว่าความต้องการใช้ iPhone ทั่วโลกร่วงหล่นลงมา รวมทั้งตลาดในจีนด้วย

สำหรับอุตสาหกรรมในประเทศจีน พบว่าในเดือนกุมภาพันธ์ของปีนี้ มียอดขายต่ำกว่า 50% เมื่อเปรียบเทียบกับยอดขายในเดือนกุมพันธ์ของปี 2562 เช่น ผลิตภัณฑ์ชุดเจ้าสาว ซึ่งส่วนใหญ่มีการผลิตในประเทศจีนและส่งไปจำหน่ายทั่วโลกนั้น ได้มีการปิดโรงงานผลิตของจีน ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนสินค้าสำหรับงานแต่งงานในฤดูร้อนที่กำลังจะมาถึงนี้

Allard Castelein CEO ของท่าเรือ Rotterdam กล่าวถึงผลกระทบของ Coronavirus ไว้ว่าได้ส่งผลจำนวนผู้โดยสารขาออกจากท่าเรือจีนลดลง 20% ในวันนี้ ขณะที่ท่าเรือ Le Havre ในฝรั่งเศสมีการชะลอตัวและอาจลดลงถึง 30% ภายใน 2 เดือนนี้เช่นกัน ส่วนผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดกับท่าเรือของสหรัฐอเมริกานั้นเริ่มถูกนำมาวิเคราะห์ทางการเงินด้วยเช่นกัน

อ้างอิงข้อมูล

https://www.hellenicshippingnews.com/covid-19-continues-to-affect-global-supply-chain-networks/

https://hbr.org/2020/02/how-coronavirus-could-impact-the-global-supply-chain-by-mid-march

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *