ชิปปิ้ง รถบรรทุกขนส่งสินค้า มีที่มาจากไหนกัน ?

ชิปปิ้ง รถบรรทุกขนส่งสินค้ามีที่มาจากไหน Max Logistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง รถบรรทุกขนส่งสินค้า มีที่มาจากไหนกัน ?                                                                                                  Max Logistics 768x402

ชิปปิ้ง การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันสามารถขนส่งได้ 3 รูปแบบคือ ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยเฉพาะทางบกหรือทางรถ เป็นรูปแบบการขนส่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

การขนส่งสินค้าทางรถ เป็นอีกบริการหนึ่งที่บริษัทชิปปิ้งจีนส่วนใหญ่นิยมแนะนำกับลูกค้า เนื่องจากมีข้อดีมากมาย อาทิ ใช้ระยะเวลาขนส่งน้อยกว่ารูปแบบอื่น จากจีนมาไทยรอเพียง 3-5 วัน อีกทั้งเป็นบริการที่ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางที่ดีที่สุด เหมาะกับการขนส่งสินค้าปริมาณไม่มาก และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับสินค้าได้ดีที่สุด

แต่คุณเคยสงสัยบ้างไหม ว่าที่มาของการขนส่งทางรถนั้น เริ่มต้นมาจากที่ไหน เหตุใดปัจจุบันจึงกลายเป็นรูปแบบการให้บริการขนส่งที่นิยมทั่วโลก

Max Logistics บริษัทชิปปิ้งจีนเพื่อคนไทย มีเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับตำนานของรถบรรทุกขนส่งสินค้ามาฝาก สำหรับเป็นข้อมูลให้กับผู้สนใจ  

ว่ากันว่า รถบรรทุกที่ใช้สำหรับบรรทุกสินค้า ปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1900 ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงรถยนต์ดัดแปลงที่ใช้แทนรถม้าลาก เพื่อนำมาใช้ในการขนส่งสินค้าแค่ในพื้นที่ท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากข้อจำกัดของการใช้รถยนต์ขนส่งอยู่ตรงที่ จุสินค้าได้ในปริมาณน้อยและขนส่งได้เพียงระยะทางสั้นๆ ต่อมาภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงมีการเติบโตของอุตสาหกรรมรถบรรทุกในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของรถบรรทุกขนาดใหญ่ ที่ใช้จุสินค้าได้เป็นจำนวนมาก

ในปี ค.ศ. 1920 รถบรรทุกมีการพัฒนาโดยหันใช้ยางรถแบบสูบลม รวมทั้งมีการปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่งทางบก ยิ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเติบโตของรถบรรทุก ในช่วงเวลานี้ บริษัทขนส่งด้วยรถบรรทุกได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากการขนส่งทางรถไฟมีจุดอ่อนบางประการ เช่น ใช้ระยะเวลาเดินทางยาวนาน ทำให้คนเปลี่ยนมาใช้รถบรรทุกขนส่งแทน ต่อมาในปี ค.ศ. 1930 มีการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมการผลิต ทำให้รถบรรทุกขนส่งถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย

ทว่า ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวนการใช้งานของรถบรรทุกขนส่งระหว่างเมืองลดน้อยลง เนื่องมาจากความยากลำบากของยานพาหนะที่ใช้น้ำมันเบนซิน อีกทั้งรัฐบาลได้กีดกันการใช้ยานพาหนะในช่วงสงครามโลก จนภายหลังสงครามสงบ รถบรรทุกขนส่งกลับเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้ดูเหมือนว่า จะมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีขนส่ง รวมทั้งมีการปรับปรุงเส้นทางหลวง ทำให้การคมนาคมสะดวกสบาย กอปรกับมีการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้การขนส่งสินค้ามีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น

มูลนิธิขนส่ง ENO (The Eno Transportation Foundation) ของสหรัฐอเมริกา รายงานว่า ในปี 1997 รถบรรทุกขนส่งสินค้าข้ามเมือง ทั้งที่เป็นรถบรรทุกส่วนตัวและให้เช่าในสหรัฐอเมริกา มีจำนวนที่บรรทุกได้สูงถึง 1,051 พันล้านตัน-ไมล์ (1,691 ตัน-กม.) หรือคิดเป็น 29.1% ของทั้งหมดในประเทศ โดยประมาณการณ์ไว้ว่าในปี 1997 มีการใช้จ่ายเงินถึง 372 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการขนส่งสินค้าทางรถบรรทุก (81.3% ของค่าขนส่งสินค้าของประเทศ) และระหว่างเมือง ส่วนรถบรรทุกในท้องที่ที่ขนส่งสินค้าคิดเป็น 6.7 พันล้านตัน (60% ของระวางบรรทุกภายในประเทศทั้งหมด)

ในปี 1997 มีการก่อตั้ง ‘สมาคมรถบรรทุกแห่งสหรัฐอเมริกา’ (American Trucking Associations : ATA) รถบรรทุกถูกใช้งานในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวน 19.84 ล้านคันเพื่อประโยชน์ทางการค้า (รวมไปถึงใช้งานโดยรัฐบาลและการเกษตร) (25.7% ของรถบรรทุกทั้งหมดถูกใช้สำหรับธุรกิจและกิจกรรมส่วนตัว) ระบบทางหลวงสหรัฐ (The Federal Highway Administration) รายงานว่าในปีเดียวกันนั้น รถบรรทุกจำนวน 1.97 ล้านคันเป็นเจ้าของโดยรัฐบาล ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมรถบรรทุกให้เช่าจะอยู่ในรูปแบบบริษัท แต่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดเล็ก และบางบริษัทก็มีขนาดใหญ่พอควร เป็นของบริษัทอเมริกัน

ในปี 1999 ธุรกิจรถบรรทุกได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก มีผู้ผลิตรถบรรทุกในสหรัฐอเมริกา จำนวน 7,423,375 ล้านคัน หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของการผลิตทั่วโลกรวม 16,600,988 คัน ส่วนผู้ผลิตรถบรรทุกรายใหญ่อื่นๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น (1,904,298 ), แคนาดา (1,398,305), จีน (1,218,878), เกาหลีใต้ (518,004), เม็กซิโก (499,894), สเปน (480,021), ฝรั่งเศส (405,019), อิตาลี (405,019), อิตาลี (352,656) , บราซิล (253,766), รัสเซีย (228,000), สหราชอาณาจักร (180,802), อินเดีย (138,393), แอฟริกาใต้ (107,506) และไต้หวัน (105,290)

หลังจากนั้นเป็นต้นมา การขนส่งด้วยรถบรรทุกก็แพร่กระจายไปทั่วโลก รองรับการเติบโตในการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว (อ่านเพิ่มเติม 7 ข้อดีของการขนส่งทางรถบรรทุก)

Max Logistics ชิปปิ้งจีนที่ให้บริการขนส่งทางรถ จากจีนมาไทย 3-5 วัน ดำเนินพิธีการศุลากรนำเข้าแบบถูกต้องตามกฎหมาย ออกใบขนสินค้า ใบกำกับภาษี และสามารถออก Form E สำหรับลดหย่อนภาษีจากจีนได้ 0% โดยเอกสารทุกใบนำเข้าเป็นชื่อลูกค้า และออกโดยกรมศุลกากร จึงใช้เป็นหลักฐานแสดงการนำเข้าได้อย่างถูกกฎหมาย

ข้อมูล : http://whitenies.blogspot.com/2013/06/history-of-truck-transportation.html

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *